วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

นายชินนาอาชว์ รสิอัครศักดิ์ นายอำเภอเสาไห้ประธานเปิดงานสืบสานประเพณีทำบุญข้าวห่อ ลาวเวียง ประจำปี 2566


เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 ณ วัดม่วงงาม หมู่ที่ 4 ตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี นายชินนาอาชว์ รสิอัครศักดิ์ นายอำเภอเสาไห้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสืบสานประเพณีทำบุญข้าวห่อ ประจำปี 2566 ของชาวลาวเวียง เสาไห้ โดยมี นางภูริชญา บุญน้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม กล่าวรายงาน มี นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน ในพื้นที่อำเภอเสาไห้  เข้าร่วมเป็นเกียรติในกิจกรรมฯ  และ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม พี่น้องชาวตำบลม่วงงาม.ให้การต้อนรับ







นางภูริชญา บุญน้อม นายกฯ กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น จึงได้ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลม่วงงาม กำนันผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและประชาชนตำบลม่วงงาม ร่วมกันฟื้นฟู เพื่อสืบสานอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมทำบุญข้าวห่อ ณ วัดม่วงงาม นี้ ไว้เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบทอดประเพณีทำบุญข้าวห่อนี้ไว้สืบไป
















สำหรับ บรรยากาศ กิจกรรมในวันนี้ มี- การจัดรำบวงสรวงเจดีย์ธรรมจินดา โดยนางรำของตำบลม่วงงาม และตำบลในเขตอำเภอเสาไห้ – การจัดนิทรรศการความเป็นมาของประเพณีทำบุญข้าวห่อ – การแข่งขันกินข้าวห่อ - การเดินแบบโชว์การแต่งกายแบบลาวเวียง- การละเล่นกีฬาพื้นบ้านของนักเรียน - ตลาดนัดลาวเวียงขายสินค้าในชุมชนและนับเป็นโอกาสดีของตำบลม่วงงาม ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว. ให้ดำเนินงานโครงการ "การบริหารจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชน และการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืน" โดยองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงามได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 12 พื้นที่ของประเทศ














 ในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวจากการประชุมประชาคมผู้มีส่วนเกี่ยวของในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม จึงได้ตัดเลือกพื้นที่ทำกิจกรรม ได้แก่ วัดตะเม่ วัดม่วงงาม และชุมชนริมน้ำป่าสักโดยใช้ชื่อว่า "ถนนวัฒนธรรมบ้านม่วงลาว" ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของชุมชนลาวเวียง โดยมีเป้าหมายกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพื้นที่ มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ฟื้นฟูและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เกิดจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นสืบสานวัฒนธรรม และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม ถนนวัฒนธรรมบ้านม่วงลาวจะจำหน่ายสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าวัฒนธรรมชุมชนและสาธิตงานฝีมือของชุมชนม่วงงาม อาทิเช่น การสาธิตทำตุง การทำตาเหลว การทำข้าวห่อ และการจำหน่ายอาหารและสินค้าพื้นเมืองของชุมชน








 ซึ่งกิจกรรมถนนวัฒนธรรมบ้านม่วงลาวจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์ โดยเริ่มจากวัดตะเฆ่ไปตามถนนวัฒนธรรมม่วงลาว ไปจนถึงวัดม่วงงามโดยเริ่มกิจกรรมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 21ตุลาคม 2566 และเพื่อให้เกิดการต่อยอดและความยั่งยืนหลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้น องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงามและชุมชนจะเป็นผู้ต่อยอดกิจกรรมให้ยั่งยืนถาวรต่อไป










วัดม่วงงาม  ตั้งอยู่ที่ ตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นวัดที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวลาวเวียงจันทร์ เนื่องจากมีกลุ่มคนที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ นำโดย พระเจ้าธรรมจินดา ได้มาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดตะเฆ่ในปัจจุบัน และตั้งหมู่บ้าน ขึ้นชื่อ หมู่บ้านม่วงลาว ต่อมาในสมัยของกำนันแจ้ง ปักษาศร ท่านได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านนี้ใหม่เป็น บ้านม่วงงาม เพื่อความเหมาะสมและใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน    














   

วัดม่วงงามมีประเพณีที่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นประเพณีประจำวัดเลยก็ว่าได้ นั้นคือประเพณีบุญข้าวห่อ หรือวันสารทลาว โดยถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ประเพณีนี้มีที่มาจากการอพยพของชาวเวียงจันทร์ในสมัยก่อน จะมีการทำข้าวห่อพกติดตัวมากินระหว่างเดินทาง ในข้าวห่อนั้นจะมีทั้งข้าวจ้าว และข้าวเหนียวส่วนกับข้าวจะเป็นของแห้ง เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ห่อรวมกันในใบตอง เมื่อถึงเวลาพักทุกคนจะนำข้าวห่อ ออกมาแลกเปลี่ยนกันทาน ผู้นำการเดินทางในครั้งนั้นได้นำข้าวห่อมาถวายพระ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10  จึงเป็นที่มาของประเพณีบุญข้าวห่อสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน










    ดังนั้น เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10  ชาวบ้าน จะพากันแต่งกายด้วย ชุดลาวเวียงจันทร์ เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียงจันทร์ และนำข้าวห่อมาทำบุญที่วัด โดยข้าวห่อที่นำมาถวายพระจะทำเท่ากับจำนวนคนในครอบครัว และทำเพิ่ม อีกหนึ่งห่อ เป็นการทำบุญไปหาญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้ว

 หลังจากที่พระสงฆ์ฉันท์อาหารเสร็จ ชาวบ้านจะแบ่งเอาอาหารที่พระฉันท์เสร็จแล้วกลับไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งประเพณีบุญข้าวห่อนี้ได้สืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปีแล้ว







ร.ต.สุประวีณ์  บุญธิคำ /บรรณธิการข่าว รายงาน

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น